วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

หลวงพ่อธัมมชโย ความประทับใจเล็กๆของผม

ผมเริ่มรู้จักหลวงพ่อเมื่อผมเข้าวัดพระธรรมกายแล้ว จากการอ่านประวัติของท่านในหนังสือหลายเล่มทั้งจากหนังสือที่เขียนโดยหลวงพ่อทัตตชีโว ที่เขียนถึงท่าน หรือหนังสือต่างๆที่เกี่ยวกับท่าน เมื่อรู้จักท่านจากการประวัติของท่าน รู้สึกดีใจที่หลวงพ่อธัมมชโย และหลวงพ่อทัตตชีโวเป็นรุ่นพี่ที่ม.เกษตรและพอทราบว่าหลวงพ่อธัมมชโยเรียนคณะเดียวกันก็ยิ่งปลื้ม ทำให้เวลาอ่านประวัติของท่านไป ก็ได้นึกตามถึงบรรยากาศในม.เกษตรศาสตร์ในสมัยที่หลวงพ่อทั้ง 2 เป็นนิสิตอยู่ ทำให้รู้สึกชุมช้ำใจ พรรณทำให้นึกถึงละอองฝนที่ตกลงมาเบาๆ ในบรรยากาศต้นไม้น้อยใหญ่ และหยดน้ำพื้นหญ้าในบริเวณ ม.เกษตรศาสตร์


 เพราะผมรู้สึกถึงลักษณะบางอย่างของนิสิต ม.เกษตรโดยเฉพาะ ที่มีความโหด มันฮา และจริงใจต่อกัน แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ทำให้ผมทราบจิตใจที่เด็ดเดียวของหลวงพ่อธัมมชโยที่ตั้งใจรักษาศีล และรักการศึกษาธรรมะมากในขณะที่เป็นนิสิต เรื่องธรรมะเป็นเรื่องที่คนอายุอยู่ในช่วงวัยรุ่นสมัยนั้นที่ไม่มีชมรมพุทธอยู่ในมหาวิทยาลัย อยู่ในช่วงสังคมแสวงหา ใครเรียนปริญญาตรีเหมือนเป็นเทวดา และการที่มีสภาวะแวดล้อมคนที่พึ่งออกจากบ้าน จากพ่อแม่ มาอยู่เพื่อนๆในช่วงเรียนหนังสือ เป็นสิ่งที่กระทำได้ยากมากๆ โดยเฉพาะการเป็นนิสิต ม.เกษตรที่มีเพื่อนเฮี้ยวๆ เฮฮา รักพวกพองกันมากเป็นพิเศษ สำหรับผมประทับใจตอนที่ หลวงพ่อทั้ง 2 พบกัน โดยหลวงพ่อธัมมชโยของเรากล้าบอก หลวงพ่อทัตตชีโวในตอนเป็นนิสิตว่า"ถือศีล " กลางวงเหล้า เพราะผมก็เคยเป็นคนหนึ่งที่ตอนเรียนที่ม.เกษตร ดื่มเหล้าพอสมควรไปถึงดื่มมาก เลยเข้าใจบรรยากาศในวงเหล้า ทำให้ประทับใจหลวงพ่อธัมมชโย ในเรื่องความกล้าหาญเด็ดเดียวในธรรมะตั้งแต่ตอนยังไม่ได้บวช ที่ "กล้า" แม้บางท่านอาจจะมองเป็นเรื่องเล็กๆ แต่สำหรับผม ช่างเท่ห์เหลือเกิน



 บริเวณหน้าประตู ถนนพหลโยธิน


 อีกเรื่องที่ผมประทับใจหลวงพ่อ และทึ่งมากๆคือ ตอนที่ผมเข้าวัดฯแล้วและเริ่มเรียนรู้และศึกษา วิธีการนั้งสมาธิ วิชชาธรรมกาย จากหนังสือและCD นำนั้งสมาธิของหลวงพ่อธัมมชโย โดยผมซื้อแผ่นนำนั้งสมาธิมาฟังเกือบทุกแผ่น โดยผมสามารถเก็บสะสมได้เกือบ 30 แผ่น ในสมัยปี2541-45 โดยผมจะเปิดฟังทั้งในบ้าน ตอนนั้งสมาธิ ตอนนอน ตอนขับรถ หรือตอนที่ว่างๆฟังตลอด โดยภายหลังเมื่อมีiPod รุ่นแรก ผมก็เอานำนั้งสมาธิหลวงพ่อเข้าเครื่องและเปิดฟัง สมัยก่อน ipod เครื่องแรกของผมที่มีหน่วยความจำแค่ 1G คือใส่เสียงหลวงพ่อได้ไม่กี่สิบช่วง(ตอน)แต่ก็ฟังวนไปวนมา. จน ipod นับจำนวนฟังได้หลายร้อยรอบต่อการนำนั้งสมาธิ 1 ช่วง(ตอน) หมายถึงว่าผมฟังเสียงนำนั้งสมาธิของหลวงพ่อธัมมชโยเป็นพันครั้งแน่นอน ที่ทึ่งไม่ใช้ผมฟังเยอะแต่ที่ทึ่งคือ


   1.หลวงพ่อพูดเรื่องเดิมๆ..."ถึงเวลาธรรมกาย ..หลับตา.." ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีได้อย่างไร เพราะทุกแผ่นก็จะคุยเรื่องเดิมวิธีการเดิมๆอาจมีแตกต่างๆบาง หรือลึกลงไปถึงการอธิบาย 18กายบ้าง เทศน์เรื่องธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบ้างแต่เนื้อหาก็วนๆการนั้งสมาธิแบบเดิมคือ  "สติ สบาย สม่ำเสมอ" "หยุด" "กลาง" ซ้ำไปมา 
   2.ท่านพูดในลักษณะเสียง เท่าเดิม น้ำเสียงฟังแล้วนุ่ม ฟังสบาย เพลิน ชวนฟังเหมือนกันตลอดทุกตอน ได้อย่างไร
   3.ท่านสามารถนำเรื่องที่ยาก ทำให้ฟังง่าย เชิญชวนให้ทำได้ง่ายๆ ได้อย่างไร
   4. ท่านไม่เคยพูด คำพูดที่ ไปทำให้ใจคนฟังตกต่ำหรือพูดคำหยาบหรือพูดว่าร้ายใครเลย ไม่เคยแนะนำให้เราไปคิดร่าย ว่าร้าย และทำร้ายใครเลย 
   5.คำพูดของหลวงพ่อมีแต่เชิญชวนไปทำความดี อย่างเดียว และไม่จำกัดว่าต้องทำบุญเฉพาะที่วัดพระธรรมกาย 
   6.หลวงพ่อพูดเรื่องที่ รุนแรงที่สุดหรือเลวร้ายที่สุด ได้อย่างเป็นมิตรที่สุดอย่างไม่น่าเชื่อ คือ ไม่มีพูดว่าร้ายใครเลย 


สุดท้าย ผมคงไม่อาจเล่าเรื่องความประทับใจในตัวหลวงพ่อธัมมชโย ได้หมดแน่นอน เหมือนผมจะพยายามอธิบาย แสงแดด ว่ามีคุณประโยชน์ต่อโลกอย่างไรก็คงไม่สามารถบอกได้หมดแน่ๆ

วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2559

หลวงพ่อ...ทำให้ดีขึ้นด้วยคำถามที่มีอยู่ในใจ

หลวงพ่อ...คำถามของผมเกี่ยวกับหลวงพ่อธัมมชโย

ส่วนตัวผมเคยมีคำถามมากมายเกี่ยวกับ หลวงพ่อฯท่านทำไม  ไม่ ??? 
เอะ อะ. อุ. ทำไมหน่อ เมือได้เห็นฟังก็ได้คิด เมือได้คิด ก็คิดได้ เช่น

คำถามในใจ  หลวงพ่อ ท่านทำไมไม่สร้างวัดเล็กๆและปฏิบัติธรรมของท่าน ไปสร้างวัดใหญ่ๆทำไม ??
                                                           ขนาดวัด 2,500 ไร่ในปัจจุบันดูเล็กลงไปถนัดตา



 ผมได้เห็นได้พิสูจย์จึงได้พบว่า: ท่านมีความเมตตามากๆ มีเป้าหมายชัดเจน ท่านมีความเคารพครูบาอาจารย์หลวงปู่สดวัดปากน้ำ ที่สั้งคุณยายฯให้ขยายงานวิชชาธรรมกายไปทั่วโลก การสร้างวัด สร้างพระ ก็เพื่อขยายงานวิชชาธรรมกายของหลวงปู่ คุณยาย ไปให้คนทั่วโลกได้เข้าถึงเท่านี้จริงๆ เพราะส่วนตัวของท่าน (ผมคิดนะ) ก็ไม่ต้องลำบากขนาดนี้ก็ได้สบายแล้ว



คำถามในใจ  หลวงพ่อ ท่านทำไมต้องให้ทำบุญเยอะๆด้วย เยอะมากกว่าวัดอื่นๆมากๆ จนบางครั้งก็คิดว่าทำบุญมากไปหรือเปล่า ??

ภาพการที่คนนับล้านคนมาร่วมทำบุญและนั้งสมาธิ


 ผมได้เห็นได้พิสูจย์จึงได้พบว่า การทำบุญ เป็นต้นทางและเป็นสเบียงเอาไว้ใช้ในชีวิตยามปรกติ เพื่อเวลานั้งสมาธิ ตอนมีบุญมากหรือนึกถึงบุญแล้วปลื้มจะทำให้การนั้งสมาธิประสบความสำเร็จได้ง่าย และ พอเราไม่ทำบุญชีวิตก็จะประสบความลำบากมากกว่าตอนทำบุญและเวลานั้งสมาธิ จะพบความไม่สบายกายสบายใจ ฟุ้งซ่านได้ง่าย เวลาใจเราไม่ได้อยู่ในบุญ 

การทำบุญแล้วปลื้มจึงต้องมีขนาดพิเศษสำหรับตัวเรา เช่น การตัดความตระหนี่ของตนการตัดใจทำบุญ,การบวช, การทำบุญที่เกิดขึ้นได้ยาก เช่น การหล่อหลวงปู่ทองคำ, การเข้าปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่อง โดยเราต้องเสียสละเวลาในทางโลกมาศึกษาทางธรรมอย่างต่อเนื่องเป็นต้น
จึงทำให้หลวงพ่อพยายามสร้างงานบุญให้เราได้ทำ เพราะความปลื้มในบุญเป็นสิ่งสำคัญในการฝึกสมาธิมากๆเคล็ดไม่ลับของการฝึกสมาธิให้ประสบความสำเร็จคือการปลื้มในบุญอย่างต่อเนื่อง ถ้าเราไม่มีงานบุญที่ปลื้มมมากๆเยอะๆเราก็จะฝึกสมาธิได้ติดๆขัดๆ ไม่ลื่นไหล เข้าถึงธรรมได้ยาก

คำถามในใจ  หลวงพ่อ ท่านทำไมสอนสมาธิแบบเดียวกันมากว่า40 ปี ไม่เปลี่ยนแปลงเลย ขึ้นต้น"ได้เวลาธรรมกาย..ขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย..หลับตาเบาๆ..." ท่านไม่เบื่อหรือ และไม่มีเทคนิคอย่างอื่นในการฝึกสมาธิแล้วหรือ ??


คำสอนของหลวงพ่อทุกคำ เหมือนกับที่หลวงปู่สดสอนไม่มีผิด 


 ผมได้เห็นได้พิสูจย์จึงได้พบว่า  ทุกคำของหลวงพ่อมีบางสิ่งบางอย่างพิเศษเสมอ เช่น ได้เวลาธรรมกาย ตอนแรกฟังจีงคิดว่า  "ได้เวลานั้งสมาธิ
ต่อมาฟังจึงคิดได้ว่า  "ได้เวลาหยุดใจแบบวิชชาธรรมกาย
ต่อมาฟังจึงได้คิดว่า  " ได้เวลาฝึกสมาธิของคนทั้งโลกพร้อมๆกัน เราต้องทำงานเป็นทีม"
ต่อมาฟังจึงได้คิดว่า  "ได้เวลาที่เราต่องสละทุกสิ่ง ทิ้งทุกอย่างเพื่อฝึกวิชชาธรรมกาย บุญก็ไม่เอา บาปก็ไม่มีตัวตนก็ไม่เอา"

ทุกๆคำของหลวงพ่อ เราอย่าดูเบาเพราะจะมีเรียบง่ายๆแต่ลึกๆๆๆทำให้เรายิ่งฟังยิ่งเข้าใจว่าธรรมะเป็นของลึกซึ่ง ต้องปฏิบัติถึงจะเข้าใจว่า



หลวงพ่อธัมมชโย จึงเป็นต้นแบบของความดี ท่านสอน ท่านแนะนำ ท่านนำเสนอ ท่านทำเป็นตัวอย่าง ให้ลูกๆทุกคนได้เห็น ให้ได้ยิน ได้อ่าน และได้ทำตาม หลวงพ่อฯ เพราะการตามติดติดตามหลวงพ่อเราจะพบสิ่งที่ดีๆๆๆๆๆๆยิ่งๆๆๆๆขึ้นๆๆๆไป ผมพิสูจย์แล้วจึงได้คิดและพูดและทำอย่างนี้ครับ

วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

สมาธิ สิ่งดีๆที่ทุกคนบนโลกต้องทำ

ผมมายืนยันนั้งยันนอนยันทุกอริยาบทยืนยันว่า "การทำสมาธิ"ดีจริงๆเรียกได้ว่าวิเศษสุดๆเลยก็ได้ 

         สำหรับผมตอนแรกของการฝึกสมาธิเพื่อมาช่วยเหลือผมเรื่องการเรียน คือ ผมรู้ว่าสมาธิดี ช่วยในการเรียนตอนแรกคิดว่าช่วยให้จำดีขึ้น ก็เลยฝึกสมาธิ แต่เมื่อฝึกไปแล้วแม้ผลการปฏิบัติสมาธิยังมืดตือมืดมิดอยู่ ผลการเรียนจากได้เกรดยอดนิยม 2นิดๆ (คือ เกรด 2เป็นเกรดยอดนิยมของคนหมู่มาก) กลายเป็นเกรด 3.85 โอ้เกิดมาผมไม่เคยได้เกรดขนาดนี้เลยแม้แต่ตอนเรียน ประถมและมัธยม ก็ตามสิ่งที่ผมคิดว่าหลังจากฝึกสมาธิแล้วช่วยในการเรียนคือ ความเข้าใจในบทเรียนเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น คือ พอเข้าใจก็จดจำได้เอง, การมีสติในการอ่านหนังสือคือไม่เผลอใจไปคิดเรื่องอื่นตอนอ่านหนังสือ และรู้จักสอนตัวเองได้คือ สอนตัวเองให้ตั้งใจเรียนและอ่านหนังสือเองโดยไม่ต้องมีใครมาสั่งจะรู้และปฏิบัติตัวเองว่าควรทำอย่างไร ซึ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้นเองหลังจากการนั้งสมาธิเป็นประจำทุกวัน แบบวันละ 1เหมื่อย คือ นั้งเหมื่อยมากๆก็เลิกนั้ง แม้ผลการปฏิบัติสมาธิยังไม่ปรากฏชัดเจนหรือยังมืดคือมืดมิดอยู่


สมาธิช่วยเรื่องการเรียน

สมาธิช่วยให้หาทรัพย์ได้ง่ายขึ้น คือ ตอนทำงานแล้วการฝึกสมาธิเป็นประจำจะรู้เรื่อง และเข้าใจเรื่องการทำบุญมากขึ้น รวมทั้งสอนตัวเราเองให้รู้จักการรักษาศีลแบบอัตโนมัติไปเอง พอมีศีลและทำทานบ่อยๆย่อมเป็นทางให้ได้มาซึ่งทรัพย์เป็นปรกติอยู่แล้ว และพอมีสติจากสมาธิก็จะไม่โลภ รู้จักการประมาณว่าทรัพย์มาโดยชอบหรือไม่ ใช้จ่ายอย่างไร พอทำงานสุจริต ทรัพย์จะมาแบบไม่ขาดสายคือ เงินทองเข้ามาแบบง่ายๆ เพราะ ผมคิดว่าพอเรามีศีล มีการทำบุญ มีสติ การพูดจา แววตา สีหน้า น้ำเสียง ดูเป็นคนดี น่าเชื่อถือ น่าอยู่ใกล้น่าฟัง แน่นอนที่ว่าใครก็อยากทำงานหรือร่วมงานหรืออยากซื้อของกับเราทั้งนั้น ทำให้ไม่ยากที่การทำสมาธิจะเป็นบ่อให้เกิดทรัพย์ แต่ก็มีปฏิหารการขายของหลายๆครั้งมาให้เป็นประสบการณ์เหนือความคาดคิดจากการนั้งสมาธิ เหมือนกัน


สมาธิช่วยในการทำงานหาทรัพย์


นอกจากสมาธิจะช่วยเรื่องการเรียนและการหาทรัพย์แล้ว ผมยังเคยทดลองเรื่องการรักษาโรค ปวดหัว และความดัน ว่าสามารถช่วยให้หายได้ไหม ก็พบว่า สามารถให้หายได้จริงตั้งแต่ครั้งแรกที่ทดลอง คือสามารถระงับความปวดหัวได้ทันที และอาการความดันไม่ปรากฏขึ้นทันที แต่ระยะยาวไม่แน่ใจเพราะคงต้องดูๆไปแต่ตอนนี้ก็ผ่านมาระยะเวลหนึ่งแล้วก็ok อยู่ และมีอีกมากมายผลที่ได้จากสมาธิ เช่น การแก้ไขปัญหาต่างๆจากเป็นไปไม่ได้ จนปัญญา จนมาแก้ไขได้ง่ายจนคิดไม่ถึง, การได้รับโชคแบบไม่คิดว่าจะได้ก็ได้มา, การวางแผนการทำงานที่ซับซ้อนสามารถทำให้ง่ายขึ้น,การ present งานหรือการพูดหน้าเวที หรือสถานที่ต่างๆลดความประหม่าได้, การสร้างสิ่งใหม่ให้เกิดขึ้นหรือแนวคิดใหม่ เป็นต้น

สมาธิช่วยโรคปวดหัว



จนทุกวันนี้ผมใช้สมาธิในการนำชีวิต คือ ทุกวันจะพยายามปล่อยใจให้สบายอยู่ในสมาธิทั้งวัน ทุกอย่างก็จะลงตัวของมันเองทุกๆเรื่อง บางครั้งก็ลองไม่ทำสมาธิก็รู้สึกชีวิตวุ่นวายดีจนผมแปลกใจจนเลิกแปลกใจ และไม่รู้จะบอกกับนักคิดเยอะได้อย่างไรว่าผมทำงานเยอะแยะแต่เหมือนผมไม่ได้ทำอะไรเลยได้อย่างไร ผมตอบได้คำเดียวว่าผม"ทำสมาธิ"

วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2559

หลวงพ่อธัมมชัยโยที่ผมรู้จัก

ผมเข้าวัดพระธรรมกายมาเป็นระยะเวลาเกือบ20ปีตั้งแต่ปี2540 (ปัจจุบันปี 2559) 


                                                                   คุณครูไม่ใหญ่ (หลวงพ่อธัมมชัยโย)

ถ้าให้หลวงพ่อเป็นคุณครู(ไม่ใหญ่)ผมก็เป็นเด็กนักเรียนอนุบาลประเภทชอบอยู่หลังห้อง คือ คล้ายๆจะไม่ค่อยตั้งใจเรียน แต่ก็คอยฟังครูอยู่ห่างๆ ให้ทำการบ้านอะไรก็ทำ ให้ทำงานก็ทำ ไม่เคยมีบทบาทอะไร  ไม่รบกวนผู้อื่นในห้องเรียน ผมเฝ้าสังเกตหลวงพ่อฯศึกษาประวัติ อ่านหนังสือต่างๆเกี่ยวกับหลวงพ่อฯ ซื้อCD นำนั้งสมาธิหลวงพ่อจนถึงชุด19 ผมก็ไม่ได้ซื้อแล้วครับเพราะมีให้โหลดฟรีครับเลยไม่ซื้อละครับ เปิดฟังในwww.dmc.tv   (http://www.dmc.tv/meditation/mp3player.php) ได้เลย 
(ปรกติแผ่นCDแผ่นละ10-20บาทก็ถูกมากแล้วครับ


           ผมฟังเสียงนำนั่งสมาธิหลวงพ่อเกือบทุกชุด และฟังซ้ำๆกันแต่ละเรื่องเป็นหลักหลายสิบ ถึงหลายร้อยรอบ ตอนหลังทราบจำนวนที่ฟังได้เพราะได้load ไปฟังกับipodครับ เลยทราบจำนวนรอบในแต่ละfile ที่ฟัง คือผมชอบฟังตอนก่อนนอนและปล่อยให้เสียงหลวงพ่อดังทั้งคืนระหว่างหลับโดยหวังว่า กายละเอียดของผมจะได้ฟังและค่อยมาสอนกายหยาบต่อ (ไม่รู้จริงหรือเปล่า ผมก็ตู่ไปเองครับ) โดยผมสังเกตว่าเนื้อหาของ เสียงนำนั่งสมาธิของหลวงพ่อก็จะพูดเรื่องเดิมคือ จะแนะนำวิธีการเข้าไปสู่"ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 "  และเมื่อเข้าไปแล้วจะพบอะไรจนถึงที่สุดสายปลายทาง ตลอดไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลยตั้งแต่ผมฟังมา 20 ปี พูดเรื่องเดิม ซ้ำๆ โดยที่ผมฟังแล้วทึ่งว่า ท่านพูดเรื่องสมาธิ แบบเดิมๆเรื่องเดิมๆซ้ำๆกันตลอดระยะเวลา 40-50 ปีได้อย่างไร ท่านไม่เบื่อหรือ และทำไมไม่มีเรื่องแปลกใหม่เลย เรื่องก็วนๆเวียนๆ อยู่ที่ "ศูนย์กลางกาย, ฐานที่ตั้งของใจฐาน,ดวงปฐมมรรค,กายธรรม,ธรรมกาย, กายหยาบ,กายละเอียด ,18กาย ,หยุดเป็นตัวสำเร็จตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงพระนิพพาน, " แต่ฟังจากน้ำเสียงท่านก็ไม่น่าจะเบื่อนะครับ กลับฟังแล้วมีความสุข  สบาย ทุกครั้งไป ผมก็ฟังมา20ปี ก็รู้สึกแปลกนะครับเรื่องเดิมๆจะมีมิติแปลกใหม่ทุกครั้งที่ฟัง แม้แต่เรื่องเดิมfile เดิม แทบจะจำทุกคำพูดของหลวงพ่อได้แล้วแต่ก็รู้สึก ในประโยคในคำพูดจะมีสิ่งสะกิดใจให้รู้สึกพิเศษได้ทุกครั้ง เหมือนเป็นเรื่องใหม่ ที่เราพึ่งเข้าใจบ่อยครั้งไป ซึ่งนับว่าแปลกมากๆ สำหรับผมซึ่งผมลองไปศึกษาตำราและcd เสียงนำนั่งสมาธิของหลวงปู่สดวัดปากน้ำ ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกายก็พบว่า หลวงพ่อฯก็สอนเหมือนกัน เรื่องเดียวกันไม่แตกต่าง พิธีบูชาข้าวพระ วิธีการบริกรรมนิมิตร , วิธีบริกรรมภาวนา"สัมมา อะระหัง" เหมือนกันหมด แตกต่างตรงเนื้อเสียงของผู้พูดเท่านั้น คือ เสียงหลวงพ่อธัมมฯจะนุ่ม หวาน อ่อนละมุน เสียงหลวงปู่สด จะหนักแน่น ชัด กังวาล เข้มแข็งแต่มีเมตตา ผมไม่รู้จะบรรยายยังไงก็ต้องลองไปหาฟังกันนะครับ 


                                      https://www.youtube.com/watch?v=-GtYH2hSpmU
                                               นำนั่งสมาธิหลวงปู่สด วัดปากน้ำ

                                             https://www.youtube.com/watch?v=l22-gsJaVOE
                                           นำนั่งสมาธิหลวงพ่อ ธัมมชัยโย วัดพระธรรมกาย


บทสรุปสุดท้าย ตั้ง 20ปีที่หลวงพ่อฯที่พยายามเขี่ยวเข้นเด็กนักเรียนอนุบาลโข่งหลังห้องแบบผม ผมทราบซึ่งพระคุณหลวงพ่อเป็นอย่างมากที่สุดถึงที่สุดเพราะถ้าไม่มีหลวงพ่อฯผมก็คงเป็น เด็กนักเรียนอนุบาลตาบอด มืดมิด ไม่พบหนทางสว่างที่แท้จริง เพราะมั่วแต่สนใจแสงหิ่งห้อยของกิเลสที่อยู่รอบตัวไม่หันมามองแสงสว่างภายในตัวเอง ไม่เข้าใจเรื่องจริงของโลกและเป้าหมายที่แท้จริงของมนุษย์ ไม่รู้จักการแสวงหาความสุขที่แท้จริง  กราบขอบพระคุณหลวงพ่อฯด้วยใจอันมั่นคงเคารพในพระคุณอันหาเปรียบไม่ได้ กราบมนัสการ


วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2559

ผลของการเข้าวัดพระธรรมกายในช่วงแรก


เมื่อได้เข้าวัดพระธรรมกายมาได้ระยะนึงประมาณ2-3เดือน ปัญหาก่อนเข้าวัดฯที่มีคือ ถูกตำรวจส่งฟ้องศาลเนื่องจากเมาขับรถและชนมอเตอร์ไซด์คนได้รับบาดเจ็บ โดยคดีต่างๆก็ดำเนินไปในชั้นสืบสวนของศาล   คดีก็ดำเนินไป งานผมก็ทำไป สตางค์ก็ไม่ค่อยมีทำงานมาก็ไม่เคยมีเงินเก็บใช้จ่ายเดือนชนเดือนแบบไม่มีหนี้สิน 

ส่วนตัวผมหลังจากเข้าวัดก็ถือศีล 5-8 สลับไปมาและเข้าวัดทุกวันเสาร์อาทิตย์ โดยไปช่วยงานอะไรที่วัดฯก็ทำไปหมด ใครให้ไปไหนก็ไป ไม่มีสังกัด ไม่รู้จักใคร ทำไปเรื่อยๆวันไหนนอนที่วัดได้ก็นอน ผลการนั้งสมาธิปฏิบัติธรรมแบบไม่มีพื้นฐาน 2-3 เดือนโดยทำตามเสียงนำนั้งสมาธิไปเรื่อย ก็มืดตื้อมืดมิด มึนงงบ้างตามแรงบีบเค้น นั้งไปปวดเหมื่อยไปหมดทุกส่วนตั้งแต่เล็บเท้ายันปลายผม สลับหมุนเวียนกันไปเกือบทุกอวัยวะ แต่ก็อดทนเอาเพราะรู้ว่าสมาธิดีและคิดว่าเป็นเวรกรรมของเราเองที่เคยกินเหล้ามาแต่ก็สู้แบบ มวยวัดคือ มีเป้าก็วิ่งไปชนเป้า



แต่ธรรมะที่หลวงพ่อธัมมชัยโยเทศน์รู้สึกฟังแล้วเข้าใจมากกว่าที่เคยได้ยินที่ไหนมาก่อน เลยไปซื้อหนังสือและเทป
หลวงพ่อเอาไปฟังเพราะรู้สึกฟังง่ายและเข้าใจ และยิ่งฟังซ้ำมากก็ยิ่งเข้าใจ


 ทำให้ช่วง 2 เดือนหลังจากเข้าวัด ที่ทำงานมีคำชมว่า ทำงานดีขึ้น หน้าตาผ่องใส พูดคุยดีขึ้นมากแบบผิดปรกติ ยอดขายสินค้าทะลุเป้า และเมื่อย้ายงานก็ได้เงินเดือนเพิ่มขึ้นเกือบ 100% ทำให้ปัญหาเรื่องสตางค์ถูกแก้ไขไป

ส่วนเรื่องคดีความต่างๆ แปลกมากคือ เหมือนผมไม่ต้องทำอะไรเลย ทุกอย่างเหมือนถูกแก้ไขด้วยตัวมันเอง คดีจากตำรวจส่งให้ศาล ศาลนำสืบโดยเจ้าหน้าที่ เรียกผู้เสียหายมาตกลงผู้เสียหายคนขับรถมอเตอร์ไซต์กลับไปต่างจังหวัดแล้ว ในวันขึ้นศาลก็นั้งรถไฟมาขึ้นศาลให้และบอกยอมความคดีต่างๆเลยจบลงด้วยดี โดยผมแถบไม่ต้องทำอะไรเลยคือ ไปวันที่ศาลนัด 1วัน คุยกับผู้เสียหาย 1วัน จบ ตำรวจและเจ้าหน้าที่ศาลบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า "ดูแล้วคุณไม่น่ามีพิษมีภัยและน่าสงสาร" เลยพยายามช่วยให้ ซึ่งผมก็ไม่เคยขึ้นศาลมาก่อนไม่รู้เรื่อง ไม่แต่งตั้งทนาย ไม่เตรียมอะไรเลย ไปศาลคนเดียวทำอะไรคนเดียวหมดไม่รู้ทำอย่างไรแต่ก็ผ่านได้หมด  เหตุการณ์นี้เหมือนมีพายุผ่านมาโดยเราหลบอยู่ในฐานกำบังแบบสบายๆ แล้วพายุก็ผ่านไปเราก็ออกมาฟ้าสดใสตอนนั้นรู้สึกแบบนั้นจริงๆ 

                                             ธรรมะย่อมรักษาผู้ปฏิบัติธรรมะจริงๆ


วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2559

หุงข้าว แพ็คข้าวถุง

สำหรับการมาอยู่วัดฯของสาธุชนและอาสาสมัครต้องถือศีล8 อัตโนมัติ คือ ก้าวเข้าในวัดต้องถือศีล8 ทันทีไม่ต้องตั้งตัวเพราะเป็นไปตามๆกันคือ เจ้าหน้าที่ อาสาสมัคร ถือศีล8 กันเป็นปรกติ ทำให้อาหารและเครื่องดื่มเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาสำหรับคนร่างใหญ่ ทานครบ3มื้อ อย่างผมต้องใส่ใจเรื่องนี้พอสมควร
          ตอนมาวัดฯปรกติจะได้รับประทานอาหารตอนประมาณ11 โมงเช้า(หลังจากพิธีภาคเช้าเสร็จ) 
ช่วงแรกผมไปการรับประทานอาหารจะได้รับแจกเป็นถาดข้าวหลุมมาและเราก็ไปต่อแถวกันยาวววววเพื่อรับข้าวและกับข้าว1-2อย่างกินกัน บางครั้งข้าวหรืออาหารหมดก็จะถือว่าโชคดี(สำหรับผม) เพราะอาจมีแจกมาม่าคัฟ และไปเติมน้ำร้อนทานได้ (สมัยก่อนข้าวราดแกงจานละ 10 บาท มาม่าคัฟ 15 บาท มาม่าคัฟย่อมดีกว่าเป็นธรรมดา)
                 ข้าว+กับข้าวและน้ำจะได้แจกฟรีไม่เสียตังส์ และทานได้ไม่อั้น กินเท่าไหร่ก็ได้ขอให้อย่าให้เหลือ และการกินจะต้องสะอาดมากคือ ไม่กินข้าวหกหล่นกันเลยถ้าหกหล่นก็เก็บ การกินข้าวจะพยายามหรือยัดๆให้กินให้หมด ผมเคยเห็นคนเผลอตักข้าวมาเผื่อเพื่อนแต่เพื่อนดันมีอยู่แล้ว เลยต้องกินเองแต่กินไม่หมดเลยต้องกินยัดไปเผื่อมื้อเย็น ที่เป็นเช่นนี้เพราะที่วัดฯปลูกฝังการประมาณก่อนตักข้าวและกับข้าว ตักเท่าไหร่ต้องกินให้หมดไม่เช่นนั้นจะเป็นหนี้บุญคุณคนทำบุญ
           และการกินต้องสะอาดคือถาดก่อนตักข้าวสะอาดแบบไหนตอนกินเสร็จก่อน ล้างก็แทบจะสะอาดเหมือนเดิม แบบนี้เรียกว่า กินแบบสะอาด (มีวิธีการกินค่อยมาอธิบายภายภาคหน้าเพราะเป็นอีกวัฒนธรรมชาววัดพระธรรมกายซึ่งเห็นปุบรู้ปั้บเลยว่าคนวัดพระธรรมกาย)ตอนล้างเลยง่าย แต่ตอนล้างถาดก็มีระบบล้างถาดที่น่าสนใจคือ การต่อแถวล้างถาดใครถาดท่าน เป็น line  มีขั้นตอน4-5 ขั้นตอนคือ
         1.ก่อนล้างจะตักเศษอาหารออกก่อน ลงในถุงหรือภาชนะที่เตรียมไว้
         2. ล้างน้ำเปล่าด้วยมือในถังผ่าครึ่ง
         3.ล้างน้ำยาทำความสะอาด ในถังผ่าครึ่ง และมีสก็อตไปร์ทำความสะอาด
         4.ล้างน้ำสะดาด1.เพื่อล้างน้ำยาออก
         5.ล้างน้ำสะอาด 2 อีกครั้ง
          นำถาดไปเช็ดผ้าและเข้าไปในที่ตากถาด  (ขั้นตอน2 อาจมีหรือไม่มีก็แล้วแต่สถานะการณ์ อาจมีการลดline ได้)
                (ซึ่งในปัจจุบันสาธุชนมาวัดประมาณมากเลยไม่ได้เห็นการกินข้าวในถาดในงานบุญวันอาทิตย์ แต่จะได้ใช้กันในการทำกิจกกรมพิเศษเช่น กมรอยู่ธุดงค์แก้ว อบรมสามเณร อบรมบวชพระเป็นต้น)
ลักษณะถาดอาหาร

ซึ่งเรื่องอาหารและการกินในวัดฯรับแบบอย่างที่ดีมาจากคุณยายจันทร์ ขนนกยูง เต็มๆคือ สะอาด อร่อย
โดย Concept คุณยายคือ "มาร้อยเลี้ยงร้อย มาล้านเลี้ยงล้าน" ซึ่งที่วัดพระธรรมกายสามารถทำได้จริง         วิธีการหุงหาอาหารก็ต้องอาศัยเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครที่มีความสามารถสูง ทำงานเก่งหาตัวจับยากเป็นผู้ดำเนินการและวางระบบที่ดีมากๆ เพราะผมมีโอกาสไปสัมผัสงานทางด้านหุงหาอาหารมาเล็กน้อย ยังลิ้นหอยเลยทีเดียว เพราะงานหุงหาอาหารคนมาหลักหมื่นคนแสนคนมาทานข้าวพร้อมกัน ไม่ใช่เรื่องหมูๆ
          โดยผมเคยรับเป็นอาสาสมัคร"หุงข้าว" โอ้งานช่างหนักและง่วงนอนเพราะต้องทำงานตอนเที่ยงคืนให้เสร็จตอนตี4-5 เพื่อจะได้จัดส่งให้แผนกแพ็คข้าวต่อไป ถ้าเป็นการหุงข้าวเลี้ยงคนซัก 1-2ร้อยก็ไม่หนักหนาอะไรแต่นี้ต้องเลี้ยงคนหลักหลายหมื่นประมาณเผื่อไว้ซัก3 หมื่นคน อาสาสมัครทีมผมมีประมาณ15 คนแบ่งเป็น2 line การผลิต หม้อหุงข้าวขนาดยักษ์สูงประมาณ4 เมตร 6ตัว ลักษณะหม้อหุงข้าวจะเรียกว่าหม้อก็ไม่ค่อยถูกเพราะลักษณะคล้ายฝาครอบอาหารทำจากอลูมิเมียมสูง4 เมตรด้านในมีชั่นสำหรับวางถาด 10 ชั้น ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของถาด ประมาณ1 เมตร และมีท่อไอน้ำนึงข้าวภายในและเอาฝาครอบชั้นกันความร้อนออก โดยเริ่มต้นเราจะตักข้าวใส่ถาดปริมาณข้าวจะอิงตามเกณ์มือใครใส่เยอะใส่น้อยประมาณข้าวสวยเต็มถาดสูงอีก1ข้อนิ้ว กระจายทั่วถาดเท่าๆกันแล้วเอาไปใส่น้ำสูงอีกประมาณ2 ข้อนิ้ว ตามสมควร นำถาดใส่ข้าวและน้ำไปวางบนชั้นให้เต็มทุกชั้นแล้วก็นำฝาลงมาครอบ และปล่อยไอน้ำเข้ามาแล้วรอประมาณ15-20นาทีเป็นอันเสร็จ หลังจากนั้นก็นำข้าวสุกออกจากถาดก็ทำแบบรวดเร็วคือการเอากะละมังขนาดพอดีถาดมาลองแล้วก็ตีถาดลงกะละมังข้าวก็หลุดลงกะละมังพอดี3 ถาด1กะละมัง 1 กะละมังทานได้ประมาณ 100 ถุง/คน)ดังนั้นเราจะต้องทำแบบนี้ 300ถาดหรือ100กะละมังสำหรับ10,000คน //900 ถาดหรือ300กะละมังสำหรับ30,000คน และต้องทำเสร็จก่อนตี5 หรือมีเวลา5 ชม.สำหรับกำลังคน 15 คน
เครื่องหุงข้าวจะคล้ายแบบนี้ครับ แต่จะมีขนาดใหญ่กว่า


แต่ก็ทำจนเสร็จครับ คือทำแข่งกับเวลาจริงๆ เหนื่อยก็เหนื่อยง่วงก็ง่วง แต่เพื่อบุญเวลานั้นก็ทำเต็มที่ครับ
หลังจากการหุงข้าวตอนเที่ยงคืนถึงตี5 ผมก็ยังมีโอกาสดีไปรับบุญเรื่องการแพ็คข้าวต่อในคืนถัดมาคือ เริ่มแพ็คข้าวตอนตี4 คือการแพ็คข้าวคือ การนำข้าวสุกในกะละมัง(จำได้ไหมครับ) เอามาใส่กับถุงใสและใส่กับข้าวและช้อนตักข้าว ให้พอดีประมาณ1คน1อิ่ม ขั้นตอนทำไม่ยากครับ แต่ทำให้เสร็จก่อน6โมงเช้านี้ดิครับ แพ็คกันมือละวิงเลยครับเพราะแพ็คข้าวกันเป็นหลายหมื่นถุงคนแพ็คก็เยอะกว่าหุงข้าวครับหลัก50-60คน

ปล. ตัวเลขต่างในบทความนี้ผมใช้คำจำเอา ซึ่งอาจมีผิดพลาดบ้างก็ขออภัย มา ณ ที่นี้ด้วยครับ 

ซึ่งการทำงานใหญ่ให้สำเร็จนั้นต้องทำให้ง่ายที่สุด บุคคลากรสำคัญที่สุดคือต้องมีใจของผู้เสียสละงานใหญ่จึงจะสำเร็จได้

วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559

ระทับใจแรก คือ รองเท้า

ระทับใจแรก คือ รองเท้า

หลังจากที่ผมได้ทำความรู้จักวัดพระธรรมกายได้ 2-3 สัปดาห์โดยการมานอนพักในคืนวันเสาร์และกลับในวันอาทิตย์ ผมก็ได้ร่วมกิจกรรมอาสาสมัครแบบมั่วๆตามแบบผมคือ ใครให้ทำอะไรก็ทำ ว่างๆก็เดินไปของานเค้าทำ  ไม่สังกัดไปคนเดียวกลับคนเดียว แอบดูอยู่ห่างแบบ งง งง เก็บทุกอย่างไว้ในใจ แต่สิ่งที่สร้างความประทับใจสิ่งแรกในกระบวนการจัดการของวัดฯสำหรับผม คือ "รองเท้า" มีเรื่องน่าสนใจหลายส่วน เช่น การเรียงรองเท้าเป็นระเบียบของสาธุชน ตอนมาเข้าฟังธรรม ปฏิบัติธรรมหรือมีกิจกรรมต่างๆ โดยจะมีผู้รับหน้าที่เรียงรองเท้า ผมรู้สึกได้ว่าคนทำหน้าที่นี้จะมีความสุขมากเหมือนได้ทำหน้าที่อันทรงเกียรติ ในการคอยจัดเรียงรองเท้าของทุกๆคนที่มาเป็นร้อยเป็นพันคู่ โดยพยายามจับคู่รองเท้าให้ถูกต้องและเรียงเป็นระเบียบ แถวสวยงาม (อันนี้มาทราบตอนหลังว่าเป็น วัฒนธรรมของหลวงพ่อทัตต ตอนท่านยังไม่ได้บวช(คุณเผด็จ) ที่ท่านมาแอบมาจัดเรียงรองเท้าคนมาปฏิบัติธรรมกับท่าน ตอนที่ทุกคนกำลังนั่งสมาธิ ท่านก็แอบมาจัดรองเท้าให้เป็นระเบียบ ::ขอบคุณคำแนะนำทุกคำแนะนำครับ ผมเขียนจากความจำ100% ทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้กราบขออภัยครับ)

เรื่อง"รองเท้า"ถัดมาคือ 
การถอดรองเท้าตอนเข้าห้องน้ำ(สาธารณะ)ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมว่าแปลก แต่พอเห็นห้องน้ำสะอาดขนาดนอนได้ก็ไม่แปลกใจว่าทำไมคนจึงกล้าถอดรองเท้าเข้าห้องน้ำสาธารณะ แต่ผมอันนี้ผมไม่แปลกใจมากเพราะผมเคยแอบไปเข้าห้องน้ำที่ชมรมพุทธที่เกษตร ก็พบป้ายให้ถอดรองเท้า  ก่อนเข้าห้องน้ำตอนแรกก็ไม่กล้าพอเข้าไปแล้วเห็นสะอาดดีเลย กลับออกมาถอดแล้วเข้าไปใหม่ 55 ชาวชมรมพุทธที่เกษตรก็คงเอาวัฒนธรรมความสะอาดและการถอดรองเท้าเข้าห้องน้ำมาจาก วัดฯแน่ๆ (ตอนหลังๆเห็นคนเยอะมากๆก็มีการปรับให้เปลี่ยนรองเท้าสำหรับใช้ในห้องน้ำแทน)

อีกเรื่องของ"รองเท้า"คือ
การสร้างช่องจอดรองเท้าสำหรับรองเท้าโดยเพราะซึ่งเป็นการตีตารางสีขาวเป็นช่องๆสำหรับจอดรองเท้า พอดีรองเท้า1คู่1ช่อง เพื่อช่วยในการเรียงรองเท้า ให้สะดวกและเป็นระเบียบแบบง่ายๆประหยัดปะโยชน์สูง ตามอาคารต่างๆตรงประตูทางเข้าจะมีช่องจอดรองเท้าไว้ให้เพื่อความเป็นระเบียบดูแล้วสบายตาดีและมีประโยชน์จริงๆ



ซึ่งแค่การจัดการ"รองเท้า" ก็รู้สึกถึงความละเอียดและใส่ใจ ของคนวัดพระธรรมกายแล้ว


ปล.ตอนหลังๆสาธุชนมากันหลักหลายๆหมื่น เป็นแสนก็ปรับให้มีการใส่ถุงใส่รองเท้าเพื่อความสะดวกรวดเร็วและแก้ปัญหาเรื่องรองเท้าหาย รองเท้าหลง รองเท้าเหม็น รองเท้าไม่สะอาด ฯลฯปัญหารองเท้าได้หมดจดจริงๆ  แต่ตามอาคารต่างๆก็ยังมีวัฒนธรรมคุณยายเรื่องการจัดเรียงรองเท้าอยู่

จริงๆถ้ามานึกเรื่อง"รองเท้า"ของวัดพระธรรมกายก็มีอีกหลายประเด็นที่น่าสนใจ เช่น รุ่นของรองเท้าพระจะมีลักษณะคล้ายกันเพราะเคยเดินธุดงค์เท้าเปล่ามาด้วยกัน(รุ่นเดินธุดงค์เดียวกัน) ก็จะมีสาธุชนมาถวายรองเท้าให้หลังจากเดินเสร็จ ,เรื่องวิธีการแก้ไขปัญหารองเท้าหายในห้องน้ำ โดยการจัดสร้างเป็นรุ่นพิเศษ ต่างๆหลายอย่างซึ่งดูแล้วเป็นเรื่องความใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆน้อยซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่คือ

         "ถ้าทำงานหยาบให้ละเอียดก็สามารถเข้าถึงความละเอียดภายในได้ง่าย"