วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559

ระทับใจแรก คือ รองเท้า

ระทับใจแรก คือ รองเท้า

หลังจากที่ผมได้ทำความรู้จักวัดพระธรรมกายได้ 2-3 สัปดาห์โดยการมานอนพักในคืนวันเสาร์และกลับในวันอาทิตย์ ผมก็ได้ร่วมกิจกรรมอาสาสมัครแบบมั่วๆตามแบบผมคือ ใครให้ทำอะไรก็ทำ ว่างๆก็เดินไปของานเค้าทำ  ไม่สังกัดไปคนเดียวกลับคนเดียว แอบดูอยู่ห่างแบบ งง งง เก็บทุกอย่างไว้ในใจ แต่สิ่งที่สร้างความประทับใจสิ่งแรกในกระบวนการจัดการของวัดฯสำหรับผม คือ "รองเท้า" มีเรื่องน่าสนใจหลายส่วน เช่น การเรียงรองเท้าเป็นระเบียบของสาธุชน ตอนมาเข้าฟังธรรม ปฏิบัติธรรมหรือมีกิจกรรมต่างๆ โดยจะมีผู้รับหน้าที่เรียงรองเท้า ผมรู้สึกได้ว่าคนทำหน้าที่นี้จะมีความสุขมากเหมือนได้ทำหน้าที่อันทรงเกียรติ ในการคอยจัดเรียงรองเท้าของทุกๆคนที่มาเป็นร้อยเป็นพันคู่ โดยพยายามจับคู่รองเท้าให้ถูกต้องและเรียงเป็นระเบียบ แถวสวยงาม (อันนี้มาทราบตอนหลังว่าเป็น วัฒนธรรมของหลวงพ่อทัตต ตอนท่านยังไม่ได้บวช(คุณเผด็จ) ที่ท่านมาแอบมาจัดเรียงรองเท้าคนมาปฏิบัติธรรมกับท่าน ตอนที่ทุกคนกำลังนั่งสมาธิ ท่านก็แอบมาจัดรองเท้าให้เป็นระเบียบ ::ขอบคุณคำแนะนำทุกคำแนะนำครับ ผมเขียนจากความจำ100% ทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้กราบขออภัยครับ)

เรื่อง"รองเท้า"ถัดมาคือ 
การถอดรองเท้าตอนเข้าห้องน้ำ(สาธารณะ)ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมว่าแปลก แต่พอเห็นห้องน้ำสะอาดขนาดนอนได้ก็ไม่แปลกใจว่าทำไมคนจึงกล้าถอดรองเท้าเข้าห้องน้ำสาธารณะ แต่ผมอันนี้ผมไม่แปลกใจมากเพราะผมเคยแอบไปเข้าห้องน้ำที่ชมรมพุทธที่เกษตร ก็พบป้ายให้ถอดรองเท้า  ก่อนเข้าห้องน้ำตอนแรกก็ไม่กล้าพอเข้าไปแล้วเห็นสะอาดดีเลย กลับออกมาถอดแล้วเข้าไปใหม่ 55 ชาวชมรมพุทธที่เกษตรก็คงเอาวัฒนธรรมความสะอาดและการถอดรองเท้าเข้าห้องน้ำมาจาก วัดฯแน่ๆ (ตอนหลังๆเห็นคนเยอะมากๆก็มีการปรับให้เปลี่ยนรองเท้าสำหรับใช้ในห้องน้ำแทน)

อีกเรื่องของ"รองเท้า"คือ
การสร้างช่องจอดรองเท้าสำหรับรองเท้าโดยเพราะซึ่งเป็นการตีตารางสีขาวเป็นช่องๆสำหรับจอดรองเท้า พอดีรองเท้า1คู่1ช่อง เพื่อช่วยในการเรียงรองเท้า ให้สะดวกและเป็นระเบียบแบบง่ายๆประหยัดปะโยชน์สูง ตามอาคารต่างๆตรงประตูทางเข้าจะมีช่องจอดรองเท้าไว้ให้เพื่อความเป็นระเบียบดูแล้วสบายตาดีและมีประโยชน์จริงๆ



ซึ่งแค่การจัดการ"รองเท้า" ก็รู้สึกถึงความละเอียดและใส่ใจ ของคนวัดพระธรรมกายแล้ว


ปล.ตอนหลังๆสาธุชนมากันหลักหลายๆหมื่น เป็นแสนก็ปรับให้มีการใส่ถุงใส่รองเท้าเพื่อความสะดวกรวดเร็วและแก้ปัญหาเรื่องรองเท้าหาย รองเท้าหลง รองเท้าเหม็น รองเท้าไม่สะอาด ฯลฯปัญหารองเท้าได้หมดจดจริงๆ  แต่ตามอาคารต่างๆก็ยังมีวัฒนธรรมคุณยายเรื่องการจัดเรียงรองเท้าอยู่

จริงๆถ้ามานึกเรื่อง"รองเท้า"ของวัดพระธรรมกายก็มีอีกหลายประเด็นที่น่าสนใจ เช่น รุ่นของรองเท้าพระจะมีลักษณะคล้ายกันเพราะเคยเดินธุดงค์เท้าเปล่ามาด้วยกัน(รุ่นเดินธุดงค์เดียวกัน) ก็จะมีสาธุชนมาถวายรองเท้าให้หลังจากเดินเสร็จ ,เรื่องวิธีการแก้ไขปัญหารองเท้าหายในห้องน้ำ โดยการจัดสร้างเป็นรุ่นพิเศษ ต่างๆหลายอย่างซึ่งดูแล้วเป็นเรื่องความใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆน้อยซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่คือ

         "ถ้าทำงานหยาบให้ละเอียดก็สามารถเข้าถึงความละเอียดภายในได้ง่าย"


4 ความคิดเห็น:

  1. สุดยอดค่ะ…
    ทีาหยิกยก…เรื่องรองเท้า มาเขียน

    กำลังศึกษา การเขียน blog อยู่ค่ะ

    ของคุณ เป็น 1 ตัวอย่างทีาเขียนดี
    น่าติดตามค่ะ เขียนเรื่ิอยนะคะ

    เป็นกำลังใจให้ค่ะ…

    ขอกราบอนุโมทนาบุญด้วยนะคะ
    สาธุ สาธุ สาธุ

    ตอบลบ
  2. สะกด ตกหล่น หลายจุด

    ขออภัยด้วยค่ะ……

    ตอบลบ
  3. สะกด ตกหล่น หลายจุด

    ขออภัยด้วยค่ะ……

    ตอบลบ
  4. สุดยอดค่ะ…
    ทีาหยิกยก…เรื่องรองเท้า มาเขียน

    กำลังศึกษา การเขียน blog อยู่ค่ะ

    ของคุณ เป็น 1 ตัวอย่างทีาเขียนดี
    น่าติดตามค่ะ เขียนเรื่ิอยนะคะ

    เป็นกำลังใจให้ค่ะ…

    ขอกราบอนุโมทนาบุญด้วยนะคะ
    สาธุ สาธุ สาธุ

    ตอบลบ